หน้าเว็บ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ ธุรกิจ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสร้างผลกระทบที่สำคัญต่อการดำรงอยู่และการเจริญเติบโตของธุรกิจ องค์การธุรกิจต้องสามารถ ปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เทคโนโลยีสารสนเทศที่เคยถูกนำมาใช้เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของ แต่ละกิจกรรมตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การดำเนินงาน และทรัพยากรบุคคลได้รับความสนใจนำมาใช้ประกอบการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Operations) เพื่อพัฒนาและธำรง รักษาความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Abilety) ขององค์การ การประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่สอดรับกัน (Harmony) ระหว่างโครงสร้างองค์การ กลยุทธ์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นงานที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนสูง

กลยุทธ์ธุรกิจ

     "กลยุทธ์ ยุทธวิธี หรือยุทธศาสตร์" แปลมาจากภาษาอังกฤษ "Strategy" ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า "Strategia" หมายถึง "Generalship" หรือศาสตร์และศิลป์ในการ บังคับบัญชากองทัพ ปกติกลยุทธ์เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในทางทหารในเรื่อง เกี่ยวกับการ สงคราม และแนวทางในการเอาชนะศัตรู ซึ่งได้รับความสนใจจากนักการทหารในทุกประเทศจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่อง จากในอดีตการปกครองและ การทหาร จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยผู้ปกครองมักจะเป็นผู้นำทางการทหาร หรือผู้นำทางการ ทหารมักจะเข้ามา มีบทบาทและ อำนาจ ทางการเมือง กลยุทธ์จึงได้ รับความสนใจจากนักการเมืองและนักปกครองที่พยายาม ศึกษา และนำหลักการมาประยุกต์ในการสร้าง ฐานอำนาจ การขึ้นสู่อำนาจ การรักษาอำนาจ และการปกครองคนหมู่มากให้อยู่ร่วมกันอย่าง สงบสุข
เนื่องจาก "กลยุทธ์" ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในหลายแนวทาง เช่น กลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์ในการสงคราม กลยุทธ์ การ ครอง เรือน กลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศ และ กลยุทธ์การเกษตรเป็นต้น ดังนั้นเราจะกล่าวถึง "กลยุทธ์ธุรกิจ" ตามความหมายของผู้เชี่ยวชาญ ในสาขา นี้เป็นสำคัญโดยเราจะศึกษาจากความหมายของ ohmae วิศวกรนิวเคลียร์ชาวญี่ปุ่น ซึ่งทำงานให้กับบริษัท ที่ปรึกษาทาง ธุรกิจ McKinsey โดยที่ Ohmae ได้รับการยอมรับว่าเป็นปรมาจารย์ด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management Guru) คนเดียวของ เอเซีย นอกจากนี้เขายังได้รับการกล่าวถึงจาก บุคคลทั่วไปว่าเป็น "นายกลยุทธ์ (Mr. Strategy)" จากงานเขียนชื่อ "The Mind of the Strategist (1982)" กล่าวว่า "กลยุทธ์ คือ การหาแนวทางให้องค์การสามารถ เอาชนะคู่แข่งขัน อย่างมี ประสิทธิภาพ ภาย ใต้เงื่อนไข ของ ทรัพยากรที่มีอยู่" เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน การจำแนก กลยุทธ์ตาม ระดับและขอบเขต การดำเนิน งานขององค์การออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้


1. กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ (Corporate Strategy) จะถูกกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ ปกติกลยุทธ์ในระดับ องค์การ จะมีขอบเขตครอบคลุมระยะเวลายาวและทั่วทั้งองค์การ โดยที่กลยุทธ์ระดับองค์การจะเป็นเครื่องกำหนดว่า องค์การสมควรจะ ดำเนิน ธุรกิจ อะไร และ จัดสรร ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินงานและการดำรงอยู่ในอนาคต


2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) จะมีขอบเขตที่จำกัดว่ากลยุทธ์ระดับองค์การ โดยกลยุทธ์ระดับธุรกิจจะให้ความ สำคัญ กับการ แข่งขันของธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมกลยุทธ์ระดับนี้มัก ถูกกำหนด โดย "ผู้บริหารหน่วยธุรกิจ (Business Unit Head , BU Head)" เพื่อให้หน่วยธุรกิจ (Business Unit , BU) ของตนสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้อง และเป็นไปในทิศทาง เดียวกับ ภารกิจ (Mission) และวัตถุประสงค์ (Objective) ขององค์การ


3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) จะถูกกำหนดโดยหัวหน้าหน่วยงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น การเงิน การตลาด การ ดำเนิน การ และทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนและสอดคล้อง กับกลยุทธ์ระดับที่สูงกว่า โดยที่กลยุทธ์ระดับนี้จะมีลักษณะที่เฉพาะ เจาะจง ตาม หน้า ที่ ทาง ธุรกิจ โดยรวบรวมข้อมูลจากภายในหน่วยงานและจากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินงานเฉพาะ หน้าที่ประสบ ความสำเร็จภายใต้ ช่วงระยะ เวลาที่แน่นอน






รูปที่ 10.1 ระดับของกลยุทธ์

การเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่รุนแรงของภาคธุรกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้องค์การธุรกิจสมัยใหม่มีการดำเนินการทางกลยุทธ์ ตลอดช่วง ชีวิตขององค์การ กลยุทธ์สำคัญที่ ธุรกิจนิยมนำมาประยุกต์ในปัจจุบัน ได้แก่


1. แรงหลักดันจากลูกค้า (Customer Driven) การเปิดเสรีทางการค้าในอุตสาหกรรมและบริการหลายประเทศ ทำให้คู่แข่ง สามารถเข้ามาในตลาดเป็นจำนวนมากและลูกค้ามีทางเลือกในการตัดสินใจ เลือกซื้อมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า ธุรกิจต้อง พยายามหาความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยอาศัยการศึกษาและการวิจัยตลาด เพื่อที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ สอดคล้องความ ต้องการของลูกค้า


2. การแข่งขันระดับโลก (Global Competition) การเติบโตที่รวดเร็วและพัฒนาการที่ต่อเนื่องของระบบเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ส่ง ผลให้หลายธุรกิจขยายตัวจนมีขอบเขตข้ามพรมแดนของรัฐ หรือ ที่เรียกว่า "บริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation , MNC)" ทำให้ธุรกิจที่อยู่รอดในอนาคตจะต้องพัฒนาความเข้มแข็งและความสามารถในการปรับตัวให้รวดเร็วและถูกต้อง เพื่อที่จะ แข่งขันบนเวทีโลกได้ อย่างสมบูรณ์ 


3. การกำหนดขนาดที่เหมาะสม (Rightsizing) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ผู้บริหาร องค์การ ต้องทำการปรับรูปแบบโครงสร้างองค์การให้เหมาะสม โดยการใช้ ทรัพยากรร่วมกัน (Shared Resources) เพื่อลด ความฟุ่มเฟือย ในการ ใช้ทรัพยากรทางธุรกิจและสามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ 


4. คุณภาพ (Quality) ในปัจจุบันทั้งธุรกิจและผู้บริโภคต่างตื่นตัวต่อ

แนวความคิดด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการให้บริการ เนื่องจากลูกค้า ไม่เพียงแต่ต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการเท่านั้น แต่เขา ต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับเงิน ที่เสียไป หลายองค์การ ได้ พยายามพัฒนาคุณภาพและบริการของตน โดยนำหลักการจัดการด้านการดำเนินงานสมัยใหม่ (Modern Operations Management) มาประยุกต์ให้ในการสร้างคุณภาพของงาน เช่น การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management , TQM) การผลิตแบบไม่มี ข้อผิดพลาด (Zero Defect) หรือคุณภาพจากแหล่งกำเนิด (Quality at Source) เป็นต้น

5. เทคโนโลยี (Technology) ธุรกิจนำเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน ไม่เพียงเพื่อเพิ่มผลผลิตภาพรวมขององค์การ เช่น การลดค่าใช้จ่ายและ ระยะเวลาในการดำเนินงานให้สั้นลงเท่านั้น แต่เทคโนโลยี ได้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ ซึ่งช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่ธุรกิจ นอกจากนี้การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ของธุรกิจยังช่วย สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภค


กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์

กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์จะประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. การกำหนดเป้าหมาย (Goal Formulation) นักกลยุทธ์ต้องกำหนดเป้าหมายขององค์การออกมกาเป็นรูปธรรม ซึ่งมักจะ อยู่ในรูปของ "ภารกิจ (Mission)" หรือ "วัตถุประสงค์ (Objictive)" เป้าหมายเป็นเครื่องสะท้อน ความต้องการในอนาคต ของ องค์การ โดยนักกลยุทธ์ต้องพิจารณาว่าเขาต้องการให้องค์การเป็นเช่นไรในอนาคต  


2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environmental Analysis) นอกจากการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการแล้ว นักกลยุทธ์จะ ต้อง ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ โดยพิจารณาทั้งในด้านดีและ ด้านไม่ดี เพื่อทำการเปรียบเทียบ ศักยภาพและความ พร้อมของ องค์การ ปกตินักกลยุทธ์จะแยกการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมออกเป็น 2 ส่วน ดังต่อไปนี้


   2.1 ปัจจัยภายในองค์การ ( Internal Factors) หมายถึง ส่วนประกอบขององค์การที่มีผลต่อศักยภาพในการบรรลุ เป้า หมาย ของธุรกิจ ซึ่งนักกลยุทธ์จะต้องพิจารณาทั้งจุดแข็ง (Strength) และ จุดอ่อน (Weakness) ขององค์การ เพื่อตรวจสอบความ พร้อม ของ องค์การในการดำเนินงานด้านกลยุทธ์
   2.2 ปัจจัยภายนอกขององค์การ (External Environment) หมายถึง สิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน ขององค์การ ซึ่งเราจะต้องพิจารณาถึงโอกาส (Opportunity) และข้อ จำกัด (Threat) ในการดำเนินงานขององค์การ



รูปที่ 10.2 การวิเคราะห์ SWOT

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมช่วยให้นักกลยุทธ์รับทราบภาพลักษณ์ขององค์การทั้งในด้านความสามารถและเปรียบเทียบ กับ สิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับสุภาษิตจีนที่ว่า "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะ ทั้งร้อยครั้ง" โดยที่นักธุรกิจนิยมเรียกวิธีการ วิเคราะห์ สภาพแวดล้อมว่า "การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)"

3. การกำหนดและการวางแผนกลยุทธ์ (Strategy Formulation and Planning) เราสามารถกล่าวได้ว่า ปัจจัยสำคัญ ในการ กำหนดกลยุทธ์มีอยู่ 3 ประการ คือ สภาพแวดล้อมภายนอก สภาพแวดล้อม ภายใน และเป้าหมายขององค์การ เนื่องจาก เป้าหมายจะให้ภาพที่ชัดเจนถึงความต้องการ ในขณะที่การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจะทำให้ทราบถึงศักยภาพขององค์การ และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

นักกลยุทธ์นำข้อมูลที่ได้จากการกำหนดเป้าหมายและการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมากำหนดกลยุทธ โดยกำหนดประเด็น สำคัญเชิงกลยุทธ์ (Strategic Issue) แผนการ วิธีปฏิบัติและประเมินรายละเอียด ของแผนการณ์ เพื่อให้องค์การ สามารถนำ กลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

4. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation) เป็นขั้นตอนที่สำคัญต่อความสำเร็จของการจัดการเชิงกลยุทธ์ ถึงแม้กลยุทธ์จะถูกกำหนดขึ้นอย่างดี แต่ถ้าไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ก็ไม่ต่าง อะไรจากความฝัน นอกจากนี้ถ้านำแผนกลยุทธ์ไป ปฏิบัติแล้วล้มเหลวอาจก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงต่อองค์การทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติต้อง พิจารณาอย่างรอบคอบถึงการจัดสรรทรัพยากร ค่าใช้จ่าย และระยะเวลาในคุ้มค่าเงินลงทุน ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกลยุทธ์ทั้งโดย ทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะต้องมั่นใจ ว่าผู้นำ กลยุทธ์ไปปฏิบัติมีความเข้าใจในเป้าหมายขององค์การและเป้าหมายของกลยุทธ์เป็นอย่างดี

5. การควบคุมกลยุทธ์ (Strategy Control) การควบคุมเป็นการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินว่าการดำเนินงาน เป็นไปตาม แนวทางที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งมีลักษณะเป็นวงจรย้อนกลับ (Feedback Loop) ที่นำข้อมูลจากการดำเนินงานขององค์การ มา พิจาราณาว่าเป็นไปตามความต้องการหรือไม่ เพื่อจะได้กาแนวทางในการปรับปรุงให้เหมาะสม โดยความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นอาจ เป็นผลมาจากหลายสาเหตุ เช่น แผนกลยุทธ์อาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง หรืออาจเกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างรุนแรงของปัจจัย ที่มีผล ต่อการดำเนินธุรกิจขึ้นในระหว่างการดำเนินงาน เป็นต้น




รูปที่ 10.3 กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์

 เทคโนโลยีสารสนเทศกับองค์การ
ปัจจุบันเราเริ่มรับรู้และเคยชินกับองค์การสมัยใหม่ (Modern Organization) ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ ทำให้มีโครงสร้างและลักษณะการดำเนินงานที่แตกต่างจาก องค์การแบบเดิม (Traditional Organization) อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
- การติดต่อสื่อสารและการไหลเวียนของข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย (Networking System) สร้างความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และไม่ซับซ้อนในการทำงาน ทำให้องค์การสามารถลดจำนวนงานบางอย่าง ลง และจัดรูปแบบการ ดำเนินงาน ให้มี โครงสร้างที่แบบราบ (Flat Structure)
- ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพช่วยลดลำดับขั้นในการจัดการ (Management Hierarchy) และทำให้การควบคุม กว้างขึ้น (Wider Span of Control) ซึ่งส่งเสริมการติดต่อสื่อสารภานในองค์การและการ ใช้ทรัพยากรบุคคล ให้มี ประสิทธิภาพสูงสุด
- ระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ทำให้บุคคลสามารถทำงานอยู่คนละที่ (Remotely Connection) ซึ่งจะลด การติดต่อ สื่อสารแบบเผชิญหน้าโดยตรง จึงต้องอาศัยความเชื่อถือ (Trust) ระหว่าองค์การ กับบุคลากร ตลอดจนต้องให้อำนาจในการ ตัดสินใจ (Empowerment) แก่บุคลากรเพิ่มมากขึ้น
- การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ ส่งผลให้บุคลากรมีคุณภาพเพิ่มขึ้นทั้งด้าน ศักยภาพส่วนตัวและ จากสารสนเทศ ที่เขาได้รับ ซึ่งทำให้การปฏิบัติงานและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
- การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศทีส่งผลต่อการปรับองค์การให้มีการใช้อุปกรณ์สำนักงานและการสูญเสียทรัพยากรน้อยลง เช่น สำนักงานไม่ใช้กระดาษ (Paperless Office) เป็นต้น


ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อองค์การดังต่อไปนี้


1. ประโยชน์โดยตรง ปกติองค์การเริ่มนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ 

เนื่องจากประโยชน์โดยตรงที่ได้รับจากระบบสารสนเทศนั้น เช่น ชุดคำสั่งด้านการบัญชีและการเงิน ชุดสำหรับการ ประมวลผลคำ (Word processing) หรือฐานข้อมูล (Database) เป็นต้น โดยการลงทุนในระบบ สารสนเทศ จะเป็น ไปตามราคาของอุปกรณ์ ชุดคำสั่ง และค่าจ้างบุคลากรเฉพาะด้าน การนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ ใช้ในลักษณะนี้จะทำให้ องค์การเกิดการเรียนรู้และเข้าใจถึงประโยชน์ต่อเนื่องที่ได้จากเทคโนโลยี

2. ความยืดหยุ่น เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินงานให้แก่องค์การ ส่งผลให้องค์การสามารถ พัฒนาและปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์นอกจากนี้เทคโนโลยี สารสนเทศยังช่วยเสริมความยืดหยุ่น ในการตัดสินใจแก่ผู้บริหารให้สามารถตัดสินใจอย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับลักษณะปัญหา เนื่องจากระบบสารสนเทศ สามารถประมวลผลและจัดเรียงข้อมูลในหลาย รูปแบบภายในระยะเวลาสั้น จึงให้ผู้บริหาร มีความเข้าใจและสามารถ วิเคราะห์ปัญหาอย่างชัดเจน


3. ความสามารถในการแข่งขัน นอกจากการใช้งานตามประโยชน์โดยตรงแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ เพื่อให้องค์การสามารถสนองความต้องการของลูกค้า และพัฒนาการดำเนินงาน ทั้งภายในและภายนอก องค์การได้เร็ว กว่าคู่แข่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง


4. รายได้ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มรายได้แก่องค์การทั้งโดยตรงและทางอ้อม เช่น การรวบรวมและให้บริการและ ให้บริการด้านสารสนเทศที่เป็นประโยชน์แก่องค์การอื่น การสร้างนวัตกรรมใหม่ ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการ โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความสะดวก รวดเร็ว ตรงความต้องการของลูกค้า หรือการลดระยะเวลาในการดำเนินงาน เป็นต้น


5. ค่าใช้จ่าย ประโยชน์ประการสำคัญของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานปัจจุบันคือ การลดค่าใช้จ่าย และการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์การเช่น การประเมิน ผลข้อมูล การตรวจสอบ และการควบคุม ค่าแรงงาน เป็นต้น โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยส่งเสริมการใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการใช้ ทรัพยากร ซ้ำซ้อน ซึ่งช่วยให้เกิดการประหยัดขึ้น แก่องค์การ


6. คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้ระบบผลิต หรือการให้บริการสามารถดำเนินงานไปตามต้องการ ตลอดจนผลิตภัณฑ์และบริการ มีมาตรฐานตามที่กำหนด เช่น ระบบ ตรวจสอบคุณภาพผลิตภายในโรงงานระบบควบคุมอุณหภูมิห้อง และระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตร เป็นต้น


7. โอกาส ปัจจุบันความได้เปรียบด้านสารสนเทศได้สร้างความแตกต่างระหว่าง องค์การองค์การ ที่มีศักยภาพด้าน สารสนเทศ สูงย่อมสามารถนำความรู้มาประยุกต์ในการสร้างโอกาสในการดำเนินงานทั้งทาง ตรง เช่น การนำสารสนเทศมา ประยุกต์เชิงกลยุทธ์ และทางอ้อม เช่นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ


การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ 

เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การดำเนินงานของธุรกิจมีความซับซ้อนขึ้น องค์การ ต้องจัดวางแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ซึ่งทำให้การจัดการเชิงกลยุทธ์กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ดังที่ King (1978) กล่าวว่า "ระบบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ คือ ระบบการ จัดการที่การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ถูกกระทำอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยสารสนเทศภายในขอบเขตขององค์การและจากสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการ" ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สารสนเทศได้กลายเป็นทรัพยากรที่ สำคัญในการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ขององค์การ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญต่อภาคธุรกิจมากกว่าเก็บรวบรวมการประมวลผลข้อมูล และการจัดทำรายงานเสนอต่อผู้บริหาร ซึ่งเป็นความท้าทายต่อความสามารถ ของผู้บริหารที่ต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับการทำงานของธุรกิจ เพราะการลงทุนด้านสารสนเทศที่สูง มิได้หมายความว่าองค์การจะสามารถสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขัน เสมอไปแต่การลงทุนด้านสารสนเทศก็มิใช่จะประสบความราบรื่นเสมอไป การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์อาจสร้างผลกระทบต่อบุคลากรและการดำเนินงานองค์การ เช่น งานบางอย่างล้าสมัย ทำให้บุคลากรบางส่วนไม่สามารถปรับตัวได้ทัน หรือความไม่สมดุลย์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง เป็นต้น นอกจากนี้มีหลายกรณีที่การนำสารสนเทศมา ใช้งานในองค์การประสบความล้มเหลว เพราะบางองค์การมีข้อมูลมากแต่มีสารสนเทศน้อย (Data rich but information poor.) ซึ่ง Scott Morton (1992) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างแรงผลักดันที่มี ต่อองค์การ 5 ประการ ดังต่อไปนี้


1. เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วซึ่งส่งผลโดยตรงต่อรูปแบบการทำงานขององค์การ เช่น ลดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ลดขั้นตอนในการทำงาน กำหนดโครงสร้างและกฏเกณฑ์ใหม่ ร่นเวลาและระยะทางในการติดต่อลง เป็นต้น


2. บทบาทของบุคคล (Individuals and Roles) พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ ทำให้บุคคลมีเครื่องมือและกระบวนการปฏิบัติงานใหม่ ซึ่งส่งผลให้บุคคลต้องผ่านการฝึกอบรมและศึกษา ใหม่ เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การยังมีผลต่อความใกล้ชิดระหว่างบุคคล ตลอดจนการรับรู้ การเรียนรู้ และความรู้สึกของบุคคล


3. โครงสร้าง (Structure) หลายองค์การต้องการปรับโครงสร้างใหม่ให้สอดคล้องกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งาน เช่น การรื้อปรับระบบ (Reengineering) การจัดองค์การแบบเครือข่าย (Network Organization) การลดขนาดองค์การ (Downsizing) หรือการจัดขนาดให้เหมาะสม (Rightsizing) เป็นต้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการตอบสนองต่อโอกาสและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นขององค์การ


4. กระบวนการจัดการ (Management Process) สังคมปัจจุบันในช่วงของการเคลื่อนย้ายอำนาจ (Power Shift) จากการดำเนินงานที่อาศัยความได้เปรียบด้านแรงงาน (Labor Intensive) หรือปัจจัยพื้นฐาน ทางธุรกิจมาเป็นการดำเนินงานที่อาศัยความได้เปรียบเชิงความรู้ (Knowledge Intensive) ซึ่งต้องอาศัย "บุคลากรที่มีความรู้ (Knowledge Worker)" โดยบุคลากรกลุ่มนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างจากแรงงานทั่วไป เช่น การศึกษาสูง รสนิยม ค่านิยมและทัศนคติสมัยใหม่ เป็นต้น ดั้งนั้นผู้บริหารต้องปรับรูปแบบการจัดการ เพื่อให้เหมาะสมและจูงใจบุคคลเหล่านี้ให้ทำงานอย่างเต็มความสามารถ


5. กลยุทธ์ (Strategy) ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ในหลายองค์การ เนื่องจากศักยภาพและความคล่องตัวในการใช้งานจึงถูกนำมาประยุกต์ เพื่อสร้างและธำรง รักษาความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่องค์การ
ปัจจุบันระบบสารสนเทศเล่นบทบาทสำคัญต่อการดำรงอยู่ขององค์การ หลายครั้งชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ของธุรกิจขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการน ำเทคโนโลยี สารสนเทศมาประยุกต์ในการดำเนินงาน เพื่อให้ธุรกิจมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ระบบสารสนเทศทำให้การจัดการเชิงกลยุทธ์มีประสิทธิภาพ และในทางกลับกัน องค์การต้องมีกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศที่เข้มแข็ง โดยที่การนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาประยุกต์เชิงกลยุทธ์เกิดจากแรงผลักดัน 2 ประการ ดังต่อไปนี้


1. การผลักของเทคโนโลยี (Technology Push) เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อุปกรณ์ด้านสารสนเทศมีความสามารถสูงขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่ำลงนอกจากนี้ การเชื่อมต่อระบบสารสนเทศเข้าเป็นเครือข่าย ทำให้การใช้ทรัพยากรร่วมกัน บริหารความเหมาะสม ซึ่งลดค่าใช้จ่ายในการทำงานที่ซ้ำซ้อน ส่งผลให้องค์การสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ


2. การดึงของการตลาด (Marketing Pull) เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ในองค์การทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรง ส่งผลให้องค์การต้องหาเครื่องมือที่ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือพยายามสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน โดยการพัฒนานวตกรรม (Innovation) ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ


 
รูปที่ 10.4 เทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ขององค์การ



ปัจจุบันการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์มิได้เกี่ยวข้องกับการ จัดการเชิงกลุยุทธ์ภายในแต่ละองค์การเท่านั้น แต่ได้ ขยาย ขอบเขตการดำเนินงาน ของระบบให้ครอบคลุมการใช้งานของลูกค้า (Customer) ผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) และพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Alliances) ซึ่งทำให้เกิดการใช้สารสนเทศ ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Information Interdependence) เช่น การสำรองที่นั่งของสายการบิน การซื้อ-ขายหลักทรัพย์ การสั่งซื้อสินค้า และการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange .EDI) เป็นต้น เราเรียกระบบในลักษณะนี้ว่า "ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ (Interorganizational Information System)" ระบบ สารสนเทศระหว่างองค์การสามารถประยุกต์ให้เป็นประโยชน์และ ตอบสนองความต้องการของทุกฝ่าย ทั้งในด้านความ สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และลดความซ้ำซ้อนของขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ตลอดจนถึง การนำสารสนเทศไปประยุกต์เชิงกล
10.5 ระดับของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ปัจจุบันระบบสารสนเทศทางธุรกิจได้รับความสนใจนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย ในหน่วยงานทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล ซึ่งครอบ คลุม กิจกรรม ของธุรกิจมากกว่าการเก็บรวบรวมข้อมูลการประมวลผลข้อมูล การส่งผ่านข้อมูล และการควบคุมการปฏิบัติงานเท่านั้น หลาย องค์การ ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการดำเนินการทางธุรกิจที่ซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงสุด เพื่อรักษา โอกาสทางธุรกิจและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน โดยมุ่งหวัง ให้ธุรกิจสามารถธำรงอยู่และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลาง กระแสการ เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
ปกติองค์การจะยังไม่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในเชิงกลยุทธ์ในขั้นตอนเริ่มต้นของการนำระบบสารสนเทศมาใช้งาน แต่จะมีกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป ใน การ เรียนรู้ถึงศักยภาพของ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมักจะแปรผันตามความสามารถ ด้านสารสนเทศ ขององค์การ (Organizational Information Capability) ซึ่งจะมีความ แตก ต่างกันตามพัฒนาการของแต่ละองค์การโดยเราสามารถ จำแนกการนำเทคโนโลยีสารสเนทศมาประยุกต์กับกลยุทธ์องค์การออกเป็น 3 ระดับ ดังต่อไปนี้
1. อิสระต่อกัน (Independent) จะเป็นระดับเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ โดยระบบสารสนเทศจะไม่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับการ กำหนดกลยุทธ์ขององค์การเทคโนโลยีสารสนเทศ ถูกนำมาใช้สนองวัตถุประสงค์เบื้องต้นคือ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน แต่ละด้านขององค์การ เช่น หน่วยปฏิบัติงาน การเงิน การตลาด และทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นระบบส่วนใหญ่จะประมวลงาน ประจำวัน เช่น รายงานลูกค้า รายงานประจำวัน เป็นต้น
2. ร่วมกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) ระบบสารสนเทศถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร โดยการนำข้อมูลที่ ผ่านกระบวนการ ประมวลผลมาใช้ประกอบ การกำหนดและวางนโยบายขององค์
3. การกำหนดนโยบายร่วมกัน (Policy Exccution) การประยุกต์เทคโนดลยีสารสนเทศในระดับนี้จะเป็นขั้นสูงสุด ของความสัมพันธ์ ระหว่างเทคโนดลยีสารสนเทศกับองค์การ โดยเทคโนโลยี สารสนเทศจะเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดกลยุทธ์ องค์การและการนำนโยบาย ไปปฏิบัติ เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีความสัมพันธ์ในเชิงบูรณาการกับกลยุทธ์ขององค์การ 


 
รูปที่ 10.5 ระดับของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ขององค์การ



หัวใจสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานคือ การสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ให้แก่องค์การ แต่งาน สารสนเทศ ส่วน ใหญ่ยังอยู่ในระดับปฏิบัติการ ซึ่งต้อง อาศัย ระยะเวลาและความ เข้าใจจากผู้บริหารในการพัฒนา ระบบสารสนเทศ ให้มีความกลมกลืน กับองค์ การ การพัฒนาระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ไม่สามารถดำเนินการอย่างรวดเร็ว โดยขาด ความรู้และความ เข้าใจที่แท้จริง เพราะ ว่า ต้อง ใช้เงิน ลงทุนสูงและอาจมีปัญหาที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้น โดยวิธีการที่เหมาะสมในการ สร้างระบบ สารสนเทศ เชิงกลยุทธ์คือ การตรวจสอบ ระบบ ที่ใช้ งาน ในปัจจุบันว่ามีขีดความสามารถเพียงใดและสามารถ พัฒนาให้สอดคล้อง กับการดำเนินงานในระดับสูงได้อย่างไร โดยไม่ลืมพิจารณา ความสามารถ และศักยภาพในการพัฒนา ด้านสารสนเทศ ของบุคคล เป็นสำคัญ
10.6 ระบบสารสนเทศกับการธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ
Alvin Toffler (1990) กล่าวในหนังสือ "อำนาจใหม่ (Power Shift)" โดยสรุปว่า โลกกำลังเคลื่อนเข้าสังคม อนาคต ที่มีความ แตกต่าง จากอดีตอย่างชัดเจน โดย องค์ ประ กอบ ของอำนาจกำลังย้ายมุม จากพลังอำนาจของเงินตรา และความรุนแรง ไม่สู่พลังอำนาจของความรู้ ซึ่ง ประกอบด้วยการได้มาของข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ และความสามารถ ในการประยุกต์ ข้อมูลข่าวสาร ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยบุคคล ที่สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการทำงานอย่าง ถูกต้องและเหมาะสม จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งตนเองและระบบที่เขาเป็นสมาชิกปัจจุบันเมื่อ องค์การ สามารถ พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของลูกค้าไม่นานนักคู่แข่งขันก็จะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ใกล้เคียงกัน หรือที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์ เลียนแบบ (Copycats)" ได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว โดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ เช่น การซื้อเทคโนโลยี วิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Enginerring) หรือการจารกรรม ทางความคิด เป็นต้น นอกจากนี้ผลิต ภัณฑ์ที่ออกใหม่ของคู่แข่งอาจมีเทคโนโลยีและคุณสมบัติที่ดีกว่าของต้นแบบ เนื่องจากคู่แข่งสามารถเรียนรู้จาก เทคโนโลยีและ ข้อมูลที่ได้รับจากธุรกิจของเรา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสำคัญของธุรกิจ ปัจจุบันคือ "องค์การจะจะรักษาความสามารถในการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่องได้อย่างไร"  โดยเฉพาะสำหรับผู้นำในตลาดที่ต้องการ รักษา ความเป็น ที่หนึ่งอย่างต่อเนื่อง Clemson และ Weber (1991) แนะนำแนวทางในการธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน 4 วิธี ดังต่อไปนี้
1. ดำเนินการก่อน (First Mover) ธุรกิจสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากการผลิตสินค้า หรือให้บริการใหม่ แก่ลูกค้าก่อนคู่แข่ง ตามแนวคิดที่ว่า "การเป็นหนึ่งในตลาดย่อมดีกว่าเป็นที่สอง ที่ดีกว่า" ถึงธุรกิจคู่แข่งจะ สามารถเข้ามา ในตลาดหรือ สร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่คล้ายคลึงกับเราได้ แต่ธุรกิจสามารถ สร้างอิทธิพลในการกำหนดโครงสร้างของตลาดและการแข่งขัน สามารถทำกำไรที่สูง และถ้าธุรกิจสามารถสร้าง ความซื่อสัตย์และบริการขององค์การ ขึ้นในกลุ่ม ลูกค้าก็จะทำให้การ ดำเนินงานของ ธุรกิจมีความมั่นคง
2. ผู้นำด้านเทคโนโลยี (Technological Leadership) ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัย ใหม่โดยเฉพาะ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ เราจะพบว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มมีบทบาท ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันธุรกิจ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญฯเชิงกลยุทธ์ขององค์การ ถ้าธุรกิจสามารถเป็นผู้นำในการ นำเทคโนโลยีที่ทัน สมัยมา ประยุกต์ในการทำงานแล้ว นอกจากการพัฒนาผลิตภาพแล้วธุรกิจยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภค เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ที่พยายามเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีมาใช้บริการลูกค้า เป็นต้น
3. เสริมสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง (Continuous Innovation) การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจมี นวตกรรมของ ผลิตภัณฑ์และ บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจ นอกจากนี้พัฒนาการที่ต่อเนื่องยังทำให้คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ทัน แต่การพัฒนาที่รวดเร็วจะมีค่าใช้จ่ายด้านการ วิจัยและพัฒนา (Research and Development) หรือ R&D สูง ซึ่งผู้บริหารต้องพิจารณาอย่าง รอบคอบ กับผลได้ ผลเสียของการเป็นผู้นำด้านนวตกรรมก่อนตัดสินใจกำหนดตำแหน่งขององค์การ
4. สร้างต้นทุนที่สูงในการเปลี่ยนแปลง (Create High Switching Cost) บางครั้งธุรกิจอาจพยายามสร้างความ ไม่สะดวก สบายหรือค่าใช้จ่าย ที่สูงแก่ลูกค่า ทั้งโดยทาง ตรงหรือทางอ้อม ถ้าเขา ต้องการจะเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคู่แข่ง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าต้องคิดอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ของคู่แข่ง

10.7 บทบาทของผู้บริหารที่มีต่อกลยุทธ์ด้านสารสนเทศขององค์การ
ขั้นตอนที่ผู้บริหารสมควรปฏิบัติ เพื่อให้องค์การสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขั้นสูง ดังต่อไปนี้
1. การผลิตและการดำเนินงาน ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ เช่น วิศวกรรมคู่ขนาน (Concurrent Engineering) โดยการ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design , CAD) ในการออกแบบ พัฒนาและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพ มีความทันสมัยและสอด คล้องความต้องการของลูกค้า ตลอดจนสนับสนุนการจัดโครงสร้างองค์การ ให้สามารถ ใช้ทรัพยากร ร่วมกัน และสอดคล้องกัน
2. การติดต่อสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจปัจจุบัน ผู้บริหารต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการ ต่อเชื่อม ระหว่าง หน่วยงาน ทั้ง ภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้การสื่อสาราข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทั่วถึง ซึ่งจะทำให้ บุคคลเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกัน อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดความ รู้สึกที่ดีต่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจาก นี้ผู้บริหาร ต้องส่งเสริมการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการนำ เทคโนโลยี สารสนเทศมาประยุกต์ในการทำงาน เนื่องจากบุคคล มีแนว โน้มที่จะต่อต้านสิ่งที่ตนไม่เข้าใจ ไม่รู้จักหรือไม่คุ้นเคย
3. กระบวนการ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานจะส่งผลให้หลายองค์การต้องปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยลด ขั้น ตอนการทำงาน ที่ล้า สมัยและไม่จำเป็น ออกเพื่อให้องค์การ สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถธำรง รักษาความได้เปรียบ ใน การแข่งขันเหนือคู่แข่ง ปัจจุบันการปรับขั้นตอน โครงสร้าง หรือกระบวนการ ทำงาน อาจมีวิธีการที่ แตก ต่างกัน ตัวอย่าง เช่น การพัฒนาการทำ งาน การรื้อปรับระบบ หรือการปรับรูปองค์การ เป็นต้น
4. การวางแผน ความสำเร็จของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ เกิดจากการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) ที่สอด คล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งการดำเนินงาน ใน ระดับ นี้ต้องอาศัย การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง โดยผู้บริหารต้อง สนับสนุน ให้องค์การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ ประโยชน์ในการ วางแผน โดย เฉพาะ ในระดับกลยุทธ์ขององค์การ เพื่อให้การดำเนินงานสอดประสานกันทั้งองค์การ การประยุกต์ เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับนี้ เป็นขั้นตอนที่ สำคัญที่สุดในการสร้างความกลมกลืนระหว่าง เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การ และกลยุทธ์

ปัจจุบันผู้บริหาร ระดับ สูงเริ่มประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานมากขึ้น ซึ่งแสดงถึงการส่งเสริมและการพัฒนา ศักยภาพด้าน สารสนเทศขององค์การ เพราะการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในที่ ทำงานจะทำให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจใน ความ สามารถของเทคโนโลยี สารสนเทศและ เกิดความสนใจที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการ ดำเนินงานของธุรกิจ มากขึ้นกว่าในอดีต แต่ความเป็นจริง 
ในธุรกิจไทยยังไม่เป็นที่พอใจ เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงในปัจจุบันมีความรู้และประสบการณ์ด้านสารสนเทศที่จำกัด เนื่องจากช่วงเวลา ที่เขา เติบโตและก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารเป็นช่วงเวลาของยุคการ แข่งขันที่อาศัยความได้เปรียบจากแรงงาน และประโยชน์จากทรัพยากร ทาง ธุรกิจ อื่น เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ทุน หรือการสนับสนุนจากภาครัฐบาล เป็นต้น 
สรุป หัวใจสำคัญในการดำรงอยู่ขององค์การธุรกิจคือ ธุรกิจต้องสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างกลมกลืน และสามารถ ดำเนิน การแข่งขันกับคู่แข่งอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเรา สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ ต่อองค์การในหลาย ระดับ ตั้งแต่การ ปฏิบัติงานประจำวัน การจัดทำและนำเสนอสารสนเทศแก่ผู้บริหาร จนกระทั่งถึงการดำเนินงานในระดับกลยุทธ์ของ องค์การ โดยเทคโนโลยี สารสนเทศ สามารถนำมาใช้ในการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจตัวอย่างเช่น
- การกำหนดโครงสร้างและการดำเนินงานขององค์การใหม่
- การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างองค์การกับลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ และพันธมิตรธุรกิจ
- การพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและการให้บริการ
- การเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันและการเป็นพันธมิตร
- การส่งเสริมศักยภาพในด้านการตัดสินใจและการทำงานกลุ่ม และ
- การสร้างความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าหรือล้มเหลว ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะแสดงบทบาท สำคัญนอก เหนือจากการสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดย เทคโนโลยีสารสนเทศยังมีส่วนในการ กำหนดกลยุทธ์ ขององค์การ ดังนั้นถ้า ผู้บริหารสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการทำงานอย่างเหมาะสมแล้ว นอกจากจะสามารถ สร้างผลงานให้แก่ตนเอง แล้วยัง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแก่องค์การ

ขอบคุณ คุณเสกสรร สายสีสด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น