หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

การบริหารเว็บไซต์

การบริหารเว็บไซต์

ความหมายของ ระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บไซต์
ระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (Content Management System : CMS) คือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษสคริปต์ ทำงานอยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชั่น นั่นคือเป็นแอปพลิเคชั่นที่ทำงานผ่านเว็บด้วยการแสดงผลในหน้าต่างของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ CMS เป็นโปรแกรมสร้างเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป พร้อมกับมีเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการเนื้อหาและองค์ประกอบต่างๆ บนเว็บไซต์อย่างครบถ้วน CMS มีคุณสมบัติในการจัดการกับเนื้อหาของเว็บไซต์ในปริมาณมากๆ ได้อย่างยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้ดูแลเว็บไซต์ ภาษาสคริปต์ที่ถูกนำมาสร้างเป็นโปรแกรม CMS ส่วนใหญ่คือภาษา PHP, ASP และ JAVA และระบบ CMS จะจัดเก็บข้อมูลเนื้อหาไว้ในไฟล์ฐานข้อมูล เช่น MySQL, Protégé SQL และ Microsoft SQL เป็นต้นนอกจากนี้ CMS ยังได้นำเทคโนโลยีของภาษา XML เข้ามาช่วยในการจัดการประเภทของข้อมูลอีกด้วย

องค์ประกอบของ ระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บไซต์

ระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ หรือ CMS ใดๆ ก็ตาม อย่างน้อยจะต้องมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน จึงจะทำหน้าที่เป็น CMS ได้อย่างสมบูรณ์ นั่นคือ
1)เครื่องมือจัดการเนื้อหา (Content Management Application : CMA) 
มีหน้าที่จัดการเนื้อหาทุกชนิดบนหน้าเว็บเพจไปตลอดอายุของเนื้อหานั้น เริ่มตั้งแต่การสร้าง การรักษา และการลบทิ้งออกไปจากที่จัดเก็บข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นในไฟล์ฐานข้อมูล หรือแยกออกมาเป็นไฟล์ต่างหาก อย่างเช่น รูปประกอบต่างๆ ก็ได้ กระบวนการจัดการเนื้อหาโดยธรรมชาติแล้วจะอยู่ในแบบที่เป็นลำดับขั้นตอนและสำเร็จลงได้ด้วยการทำงานตามลำดับงาน (Workflow) ด้วยเช่นกัน ในส่วนของ CMA ยังช่วยให้นักเขียนของเว็บไซต์ที่ไม่มีความรู้ในภาษา HTML ภาษาสคริปต์ หรือโครงสร้างของเนื้อหาเว็บไซต์ สามารถสร้างเนื้อหาได้โดยง่าย ช่วยให้งานในการสร้างและดูแลเนื้อหาของเว็บไซต์ไม่ต้องการความรู้ระดับของเว็บมาสเตอร์อีกต่อไป การดูแลเนื้อหาของเว็บไซต์ในเวลาหนึ่งๆ อาจจะมีผู้ดูแลเนื้อหาเข้ามาทำงานพร้อมๆ กันหลายๆ คนก็ได้
                2) เครื่องมือจัดการข้อมูลของเนื้อหา (Metacontent Management Application : MMA) 
 ข้อมูลของเนื้อหา (Metacontent) หรือข้อมูลของข้อมูล (Metadata) เป็นข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูลอีกทีหนึ่ง เช่นข้อมูลที่อธิบายว่า เนื้อหาชิ้นหนึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อไหร่ โดยใคร ถูกจัดเก็บไว้ที่ไหน ถูกใช้งานบนหน้าเว็บเพจไหน และจัดวางบนหน้าเว็บเพจนั้นอย่างไร เป็นต้น การจัดการข้อมูลของเนื้อหายังช่วยให้การควบคุมเวอร์ชั่นของชิ้นส่วนเนื้อหาต่างๆ บนเว็บไซต์ เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย MMA เป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับจัดการวงจรทั้งหมดของ Metacontent เช่นเดียวกันกับ CMA ที่จัดการกับวงจรชีวิตของเนื้อหาเว็บไซต์ (Content) ทั้งหมดนั้นเอง
                3) เครื่องมือนำเสนอเนื้อหา (Content Delevery Application : CDA) 
มีหน้าที่ดึงชิ้นส่วนเนื้อหา ออกมาจากที่เก็บ และจัดเรียงลงบนหน้าเว็บเพจด้วยรายละเอียดจาก MMA เพื่อนำเสนอต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้งาน CMS สร้างเว็บไซต์มักจะไม่ค่อยได้ยุ่งเกี่ยวกับ CDA มากนัก นอกจากขั้นตอนการติดตั้งและการกำหนดรูปแบบการแสดงผล หลังจากนั้นก็ปล่อยให้ CDA ทำงานไปตามกระบวนการ นั้นคือ ข้อมูลของเนื้อหา เป็นสิ่งที่บอกต่อ CDA ว่า อะไรคือสิ่งที่จะต้องนำมาแสดง และถูกแสดงอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น การจัดวาง สี ช่องว่าง ฟอนต์ ลิงก์ และอื่นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผู้ดูแลสามารถเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะได้อย่างยืดหยุ่น โดยการเปลี่ยนเฉพาะในส่วนของข้อมูลเนื้อหา ไม่ต้องไปปรับเปลี่ยนที่ตั้วเนื้อหาโดยตรง คุณสมบัติข้อนี้ทำให้เว็บไซต์สามารถเปลี่ยนดีไซน์ทั้งหมดได้ทั้งกับเนื้อหาที่สร้างมานานแล้ว และกับเนื้อหาที่กำลังจะสร้างขึ้นใหม่ โดยไม่กระทบต่อการทำงานทั้งหมดของเว็บไซต์

ความโดดเด่นของ CMS

มีเมนูผู้ควบคุมระบบ (Administration Panel) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆภายในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นการจัดการหรือทำงานผ่ารูปแบบเว็บ (Web Interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า (Portal Systems) ตัวอย่างการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ (Articles/Content) เว็บไดเรคทอรี (Web Directory) การเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ (News) หัวข้อข่าว (Headline) รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ (Weather) หัวข้อข่าวสารที่น่าสนใจ (Informations) ถาม/ตอบปัญหา (FAQs) ห้องสนทนาออนไลน์ (Chat Room) กระดานสนทนา (Forum) การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด (Downloads) แบบสอบถาม (Polls) ข้อมูลสถิติต่างๆ (Statistics) ธีมให้ใช้มากมาย (Lot of themes) การจัดการธีมสำหรับสมาชิก

หลักการทำงานของ CMS


หลักการทำงานของ CMS ระบบจัดการแบ่งแยกการทำงานระหว่างเนื้อหา (Content) ออกจากการออกแบบ (Design) โดยการออกแบบเว็บเพจจะถูกจัดเก็บไว้ในแม่แบบ (Templates/ Themes)ในขณะที่เนื้อหาถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อใดที่มีการเรียกใช้งานจะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 ส่วน เพื่อสร้างเว็บเพจขึ้นมา โดยเนื้อหาจะประกอบไปด้วยหลายๆ ส่วนประกอบ เช่น Sidebarหรือ Blocks, Navigation bar หรือ Main menu, Title bar หรือ Top menu bar เป็นต้น
ส่วนประกอบของ CMS

- แม่แบบ (Templates/Theme) เป็นส่วนที่เปรียบเสมือนหน้าตา หรือเสื้อผ้า ที่ถือเป็นสีสรรของเว็บไซต์ (Look&feel) มีรูปแบบที่กลมกลืนกันตลอดทั้งไซต์
- ภาษาสคริปต์หรือภาษา HTML หรือภาษา php หรือภาษาอื่นๆ ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ
- ฐานข้อมูล สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและการแสดงผลของเว็บไซต์

ประเภทของ CMS

- เว็บบล็อก (Weblog) - เป็น CMS ใช้สำหรับการจดบันทึกหรือเขียนบันทึกเผยแพร่ส่วนบุคคล วี บล็อก(Weblog) หรือ เว็บ-ล็อก (web log) นิยมเรียกกันว่า Blogs (บล็อก) คำว่า Weblogมาจาก Web (เว็บ) และ log (ปูม,บันทึก) นำมารวมกัน หมายถึง บันทึกบนเว็บ ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่คนที่ชอบเขียนบันทึกหรือสร้างบล็อก (Blogger) ปัจจุบันได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมายทั้งแบบให้บริการฟรีและเสียค่าใช้จ่าย Weblog เป็นเว็บประเภทหนึ่งที่มีรูปแบบการแสดงผลและใช้งานง่าย มีลักษณะเป็นเว็บไซต์ส่วนตัวคนสร้างบล็อก (Blogger หรือ Weblogger) บรรยายเหตุการณ์ส่วนตัวหรือความรู้ผ่านทางเว็บบล็อกเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารรูปแบบใหม่ เช่น การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ความในใจ ชีวิตในครอบครัว เหตุการณ์ประทับใจในชีวิต เป็นต้น
- อีคอมเมิร์ช (e-Commerce) - เป็น CMS ใช้สำหรับทำร้านค้า Online มีความสามารถใช้ในการซื้อขายสินค้า สามารถเพิ่ม/ลดรายการสินค้า ราคา สามารถซื้อขายสินค้าผ่านหน้าร้านได้ ซึ่งกำลังได้รับความิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
- อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) - เป็น CMS ใช้สำหรับการทำสื่อการเรียนการสอน หรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ (CAI on Web) ทำเป็นระบบ Online ได้ เหมาะสำหรับนักเรียน ครูทั้งข้อมูลที่ต้องการแจ้งใช้เป็นรูปภาพอาจารย์ หรือสถานศึกษาต่างๆ สร้างแบบทดสอบต่างๆ ได้ ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก
- กระดานข่าว (Forums) - เป็น CMS ใช้สำหรับถามตอบปัญหาหรือสร้างเป็นชุมชนต่างๆโดยมีการแบ่งเป็นหัวข้อหรือหมวดหมู่ต่างๆ ตามความสนใจของผู้เข้าชม ซึ่งส่วนใหญ่กระดานข่าวนี้จะติดตั้งพร้อมกับ CMS ประเภทอื่นเข้าไว้ด้วยกัน ขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถติดตั้งใช้งานกระดานข่าวอย่างเดียวก็ได้เหมือนกัน
- กรุ๊ปแวร์ (Groupware) - เป็น CMS ใช้สำหรับการทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน มีความรวดเร็วในการทำงาน สามารถช่วยเหลือกันได้ ทำงานเป็นทีมและควบคุมการทำงานได้ โดยทำงานผ่านระบบเน็ตเวิร์คหรืออีเมลหรือระบบเว็บออนไลน์ ซึ่งการติดต่อสื่อสารสามารถติดต่อได้เป็นกลุ่มหรือเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะบุคคลก็ได้ พร้อม
- อัลบั้มภาพ (Image Galleries) - เป็น CMS ใช้สำหรับจัดการอัลบั้มภาพหรือทำเป็นGalleries มีฟังก์ชันใช้งานโดยการแบ่งเป็นหมวดหมู่ของภาพ สามารถกำหนดขนาดภาพหรือขนาดไฟล์หรือย่อขยายภาพตามที่กำหนดได้หรือทำเป็น Thumbnail
- พอร์ททัล (Portals) - เป็น CMS ใช้เป็นหน้าหลักของเว็บไซต์ ทำงานได้ด้วยระบบของตนเอง และสามารถนำ CMS ประเภทอื่นๆ ติดตั้งเพิ่มเติมหรือเข้ามารวมเพิ่มได้ด้วย
- วิกิ (Wiki) - เป็น CMS ที่อนุญาตให้ผู้ใช้เพิ่มเติมและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย เหมือนกับ
การเขียนบทความร่วมกัน วิกินำเสนอเนื้อหาสาระทางด้านสารานุกรมหรือแหล่งความรู้จำนวนมากๆ โดยเป็นการระดมความเห็นหรือความรู้จากหลายๆ คนมาใช้

การประยุกต์ใช้งาน CMS ในด้านต่างๆ

ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลายหน่วยงาน อาทิเช่น
- หน่วยงานสถาบันการศึกษา นำมาใช้ในการสร้างเว็บไซต์แนะนำหน่วยงาน ใช้ในการนิเทศก์นักศึกษาฝึกงาน ใช้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ใช้เป็นระบบอินทราเน็ต เป็นต้น
- หน่วยงานทางธุรกิจ นำมาใช้ในการสร้างเว็บไซต์ของธุรกิจ ใช้ในการแนะนำสินค้าหรือซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
- หน่วยงานอื่นๆ นำมาใช้ในการสร้างเว็บไซต์หน่วยงานนั้นๆ ใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงาน ใช้เป้นแหล่งแลกเปลี่ยนหรืแสดงความคิดเห็น

ประโยชน์ของ ระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บไซต์

ประโยชน์เบื้องต้นที่ผู้ใช้งานจะได้รับ เมื่อนำ CMS เข้ามาสร้างและดูแลเว็บไซต์ มีดังนี้
1. ควบคุมรูปแบบของเว็บไซต์ได้ดี ผู้ดูแลเว็บไซต์สามารถกำหนดรูปแบบมาตราฐานของเว็บได้ง่าย
2. อัปเดตเว็บไซต์ได้จากทุกๆ ที่ สามารถเข้าถึงเครื่องมือบริหารจัดการเว็บไซต์ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต จึงทำให้สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ที่มีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
3. ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม การเข้าใช้งาน CMS ต้องการเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ต กับโปรแกรมเว็บเบราเซอร์เท่านั้น ไม่ต้องมีการติดตั้งโปรแกรมลงบนเครื่องใด
4. ไม่ต้องมีความรู้ภาษา HTML และ Script สามารถบริหารจัดการเนื้อหาด้วยเครื่องมือ CMS ที่จัดเตรียมให้
5. รองรับการทำงานจากผู้ใช้งานหลายคนได้พร้อมกัน CMS เป็นเว็บแอปพลิเคชั่นแบบ Client – Server  จึงรองรับการเข้าใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์จากผู้ใช้งานหลายๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน
6. เพิ่มศักยภาพในการร่วมมือกันทำงาน เพราะใน CMS มีเครื่องมือในการควบคุมชิ้นส่วนเนื้อหา รองรับการทำงานร่วมกันของผู้ดูแลเว็บไซต์และผู้ใช้งาน
7. การนำชิ้นส่วนเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ เพราะระบบ CMS มีการแยกชิ้นส่วนของเนื้อหาออกจากกัน ทำให้การนำกลับมาใช้งานใหม่เป็นเรื่องที่ง่าย

ช่องทางการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์

-การแลกลิงค์ (Link)  ง่ายและถูกที่สุด  สามารถทำได้โดยส่ง e-Mail ไปขออนุญาตสร้างลิงค์กับเว็บไซต์อื่น  หรือสร้างลิงค์ถึงกันของ 2 ฝ่าย  การสร้างเนื้อหาที่ดีจะส่งผลต่อการเพิ่มลิงค์โดยธรรมชาติ  การแลกลิงค์กับเว็บไซต์ที่มีอันดับสูงกว่าและเกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา ดีกว่ามีการลิงค์เว็บไซต์มากมายแต่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเราเลย 
-การแลกแบนเนอร์  (Banner)  ซึ่งต้องมีความรู้ในการสร้างแบนเนอร์ นำไปใส่ในเว็บไซต์ที่ต้องการ โดยติดต่อขอวางเช่นเดียวกันการแลกลิงค์  หรือการใช้บริการตัวกลางการแลกเปลี่ยนแบนเนอร์
-การให้ข้อมูลแก่เสริช์เอ็นจิ้น (Search Engine) และ เสริช์ไดเร็กทอรี่ (Search Directory)  ที่คุ้นเคยได้แก่ google  yahoo   โดยลงทะเบียนให้ เสริช์เอ็นจิ้น รู้จัก เพื่อบันทึกลงในฐานข้อมูลของเสริช์เอ็นจิ้นhttp/www.google.com/addur   http://submit.search.yahoo.com    ซึ่งการค้นหาของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย 80-90% ไม่คลิกเกินหน้าแรก 
-email/Newsletter   ข้อดีของอีเมล์ สร้างการรับรู้ การจดจำ แสดงความใส่ใจและความสัมพันธ์ที่ ดีกับลูกค้า  สามารถเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรงและเลือกส่งได้ตามกลุ่มเป้าหมาย คุ้มค่าต้นทุนไม่สูง รู้ผลเร็ว วัดผลได้จากการเปิดอ่าน  ความสนใจสินค้าหรือบริการใดเป็นพิเศษ   วัตถุประสงค์ของอีเมล์ให้ข้อมูลสินค้า การส่งเสริมการขาย ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ  นำเสนอกิจกรรมที่เป็นประโยชน์  แจ้งการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ หรือสอบถามความเห็น
-การใช้บริการ เมล์ลิสต์ Mail list  หรือสร้างของตนเอง  โดยให้สมัครสมาชิก รวบรวมรายชื่อผู้ที่ต้องการให้ส่งอีเมล์  หากไม่ต้องการรับต่อไปให้สามารถยกเลิกได้  หากส่งไปยังผู้ที่ไม่ยินยอมถือเป็นการรบกวน เรียกว่า สแปม Spam  อาจขอให้ผู้รับใส่ อีเมล์ ของเราในรายการที่ติดต่อด้วย  Contact list เนื้อหาของอีเมล์  ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด  ควรเป็นเนื้อหาที่มีรูปภาพประกอบพอสวยงาม โดยเนื้อหาต้องอ่านรู้เรื่อง มีเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารอยู่ในหน้าต่างแรก  และสามารถคลิกไปหน้าเว็บไซต์ได้ทันที   เขียนให้สั้น กระชับ ตรงประเด็น น่าติดตาม  ภาษากึ่งทางการและภาษาพูด    ลงท้ายข้อมูลของธุรกิจให้ครบถ้วน  ชื่อ  สกุล  องค์การ  ที่ติดต่อ  เว็บไซต์ เวลาที่ควรส่ง   ในเวลาที่ผู้รับเปิด mail box  แล้วพบว่า อีเมลของเราอยู่อันดับแรกสุด (หลักการทั่วไป คือ ส่งช่วงเช้า ไม่เกินเที่ยง)   มีระบบกรองให้ส่งไปยังเป้าหมาย เพียง 1 ฉบับต่อครั้ง  และไม่ส่งไปยังผู้ที่ยกเลิกการขอรับอีเมล์   และส่งเป็น  BCC  ไม่แสดง อีเมล์ของผู้รับอื่น
-Banner Advertising  การประชาสัมพันธ์ผ่านแบนเนอร์บนเว็บไซต์ที่มีการขายพื้นที่โฆษณา เช่น www.kapook.com  www.sanook.com  หรือ เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์  ค่าใช้จ่ายไม่สูง  ส่วนใหญ่คิดเหมาเป็นรายเดือน รายปี  วิธีคัดเลือกเว็บไซต์ที่มีการเยี่ยมชมสูง ๆ  กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเดียวกัน ให้กำหนดขนาดของแบนเนอร์ที่ใหญ่และน่าสนใจ เช่น เปลี่ยนข้อความได้บ่อย  สามารถตรวจสอบจำนวนผู้เข้าชมของแต่ละเว็บไซต์  ได้ที่  http://truehits.net
-Pay Per Click Advertising  เป็นการโฆษณาออนไลน์ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายก็ต่อเมื่อมีผู้สนใจคลิกข้อความโฆษณา  แต่ถ้ายังไม่คลิกก็จะยังไม่มีค่าใช้จ่าย  ซึ่งจะให้บริการโดยผู้ให้บริการ            Search Engine    Google Adwards     ประกอบด้วย  Pay per Impression      Pay per Click               Pay per Conversion  โดยให้มีการค้นหาคำหลัก  Keywords   คลิกเข้าสู่ หน้าเว็บไซต์เป้าหมาย Landing Page เป็นหน้าที่ให้ข้อมูลตรงกับคำหลัก Keywords  ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นหน้า Home
-Affiliate Program advertising  เป็นการโฆษณาสินค้าของเว็บไซต์อื่นบนเว็บไซต์ของเรา  เมื่อมีผู้สนใจคลิกผ่านโฆษณานั้นและทำการซื้อสินค้าหรือบริการตามข้อตกลง  ผู้โฆษณาจะได้รับค่าคอมมิชชั่นเป็นผลตอบแทน
- การตลาดผ่านบล๊อก (Blog)  การสร้างบล๊อกเป็นการสื่อสารเป็นทางการน้อยกว่าเว็บไซต์ของธุรกิจ ทำให้รู้สึกถึงความเป็นมิตรที่จะเข้ามาอ่านและติดตาม  การเปิดบล๊อกเป็นการบันทึกประจำวัน เพื่อให้ข้อมูลที่ทันสมัย อย่างสม่ำเสมอ แสดงตัวตนของธุรกิจให้ลูกค้าจับต้องได้  โดยมีทั้งเนื้อหา  รูปภาพ หรือ ลิงค์วีดีโอ จาก youtube   ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นสาระ มีประโยชน์ ตลอดจนความเคลื่อนไหวของธุรกิจ  ควรปรับปรุงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง  เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ติดตามอย่างสม่ำเสมอ และสามารถเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ของธุรกิจ

9 เทคนิคการ โปรโมทเว็บไซต์ฟรี ๆ

ปัจจุบัน ทำไมหลาย ธุรกิจ E-cOMMERCE ไทย จึงให้ความสำคัญ ในการ โปรโมทเว็บไซต์ หรือธุรกิจต่างๆ เพื่อการ ประชาสัมพันธ์ธุรกิจของตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น โปรโมทโรงแรม ร้านอาหาร รีสร์อท หรือเว็บไซด์ทั่วๆไปเพราะว่า ปัจจุบัน การเข้า อินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องง่าย และขยายตัวไปทุกชนชั้นอย่างรวดเร็ว  วันนี้ เลยอยากจะมาแนะนำแนวทางการโปรโมทเว็บฟรีๆ ที่สามารถทำด้วยตัวเองได้ง่าย ก่อนอื่นเรามาดูว่า วิธีัการ โปรโมทเว็บไซต์  เขาทำกันอย่างไร และมีวิธีการอย่างไรบ้าง
1.      Social Network สังคมออนไลน์ ที่เติบโตอย่างเร็ว  Social Network ถือว่า เป็นช่องการทำการตลาดที่ง่าย และประหยัดที่สุด และนิยมมากที่สุดสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในเวลาอันรวดเร็ว Social Network มีหลายหลายเช่น Facebook,Twitter,LinkIn,FourSquare,Google+,Pinterest
2.     สร้าง Blog ฟรี เทคนิคการ โปรโมทเว็บไซด์ ผ่านทาง Blog จเป็นช่องทางที่ง่าย และประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก เหมาะสำหรับคนที่ต้องมีเว็บ โดยไม่ต้องจดโดเมน หรือเช่าโฮส ที่ต้องเสียเงิน ในการดูแลรักษา Blog ฟรี มีประโยชน์อย่างมาก ที่สำคัญคือ การบริการที่ ฟรี และความสามารถสูงในการโปรโมท เนื่องจากติด Search Engine ได้ง่าย Blog ที่นิยมของต่างประเทศ เช่น Blogger,WordPress,Squidoo,MyOpera, VOX, livejounal, MySpace, Xanga เป็นต้น
3.      ตอบกระทู้ Comment onWeb board  การตอบกระทู้ที่ตรงกับธุรกิจของท่าน ผ่าน  Forum หรือ Web board  เป็นช่องทางหนึ่ง ที่จะได้สือสารกับกลุ่มลูกค้าโดยตรง รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร และจะต้องตอบสนองความต้องเขาได้อย่างไร สิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ตอบกระทู้ Comment onWeb board จึงเป็นสิ่งที่ไมควรข้าม
                4.      เขียนแนะนำเว็บของตัวเอง ผ่านบทความ การเขียนเนื้อหา หรือบทความ ลงกับเว็บไซด์ของเราลงเว็บไซด์ ที่มีบริการพื้นที่ให้เขียน Blog หรือ Article ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในต่างประเทศ นอกจากจะประชาสัมพันธ์เว็บไซด์ของเรา แล้ว ยังช่วยเพิ่มเพิมอันดับในการค้นหา(SEO)ได้เป็นอย่างดี หลายๆเว็บเลือกวิธีนี้เพราะว่า เท่ากับได้ประโยชน์ 2 เท่า และยังไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย ส่วนมากนิยมในการ โปรโมทโรงแรม รีสอร์ท และ ธุรกิจท่องเที่ยว
5.       เขียน Review การเขียนรีวิวเว็บไซด์ สินค้า หรือบริการ ของตัวเอง ในช่วงแรก ควรเขียนรีวิวิ เว็บของเรา ผ่านเว็บไซด์ บ้าง และอย่าลืมใส่ลิงค์มาที่เว็บของเรา เพือเพิ่มโอกาสให้คนรู้จักเว็บเรามากขึ้น เราสามารถเขียนรีวิว ได้ที่เว็บ หรือกระทู้ ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา แต่อย่าเขียน แบบ SPAM นะครับ ดังนั้นเว็บการค้าใหญ่จึงมีช่องทางใช้ผู้ใช้เขียนรีวิว เช่น Amazon.com Booking.com มีอีกหลายเว็บไซด์ที่ให้ท่านสามารถเขียนรีวิวธุรกิจของท่านได้
6.      Banner Advertising การลงโฆษณาใน รูปแบบของแบนเนอร์ มีทั้งแบบฟรี และไม่ฟรี เราสามารถลง แบนเนอร์ แบบฟรี ได้ โดยการค้นหา ผ่าน Google จะพบว่ามีหลายเว็บที่ให้เราลงแบนเนอร์ ฟรีได้ แม้จะเป็นเว็บไม่ดัง แต่ถ้าลง หลายๆ เว็บก็เป็นช่องทางการโปรโมทที่ช่วยเพิมโอกาสให้เว็บของเราได้ โดยไม่ต้องเสียเงินสักบาท
7.      VIDEO การโปรโมทเว็บไซด์ฟรี ๆ ผ่านวิดีโอ เป็นเรื่องที่ง่าย สะดวกรวดเร็ว และให้ผลเกินคาด แต่หลายๆคนมองข้ามไป เพียงแค่ ถ่ายวิดีโอ แล้วอัพโหลดขึ้นบน You tube แต่การใส่รายละเอียด ตั้งชื่อให้ค้นหาง่าย รวมทั้ง ลิงค์มายังเว็บไซด์  วีดีโอของคุณก็อาจจะอยู่หน้า แรกของ Google ได้อย่างง่ายดาย
8.      Search Engine Optimization (SEO) การเพิ่มอันดับมนการค้นหา เพื่อให้เว็บ อยู่อันดับต้นๆ ของการค้นหาผ่าน Google เป็นสิ่งที่ต่องการ ของหลายคน แต่น้อยคนนักที่เข้าใจการ ทำ SEO เพราะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ มีองค์ประกอบหลักๆ คือ Onpage SEO และ Offpage SEO แต่มีปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น Back link คู่แข่ง, Keywords ,โครงสร้างเว็บไซด์  เป็นต้น แต่หลัการง่ายๆที่สามารถทำเองได้ คือหา Back Link มาสู่เว็บของเราให้มากที่สุด แต่ต้องเป็นลิ้งค์ที่เกี่ยวข้องกัน และต้องค่อยเพิ่มวันละ 2-3 ลิงค์ ก็พอ และปรับให้เว็บของเรามี keyword ทีมีคนค้นหาใน Title และ Description ของเว็บของเรา
9.      E-Mail Marketing การโปรโมทเว็บ หรือ การทำตลาดผ่าน e-mail เป็นแนวทางหลายคนเลือกทำ แต่ทำผิดวิธีที่ โดยการ ส่ง Spam E-Mail ไปรบกวนคนอื่นโดยไม่ใช่กลุ่มคนที่เขาต้องการ การโปรโมทเว็บ โดยการส่ง E-mail ที่ถูกต้องควรมีกล่องรับสมาชิกทางอีเมลล์ หรือส่งอีเมลล์ที่มีประโยชน์ต่อกลุ่มลูกค้า ที่เขาต้องการ การโปรโมทเว็บ ที่ถูกวิธีจะให้ผลที่คุ้มค่า เพราะลงทุนน้อย และยังมีคนติดตามเว็บของคุณอย่างต่อเนื่อง และยังสามารถเพิ่มยอดขายได้ โดยไม่ต้องลงทุอะไรมาก

Web Browser
ความหมายของ Web Browser
 เว็บบราวเซอร์ (web browser) หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล(HTML)ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ.
ประวัติความเป็นมาของ Web Browser
อาปาเน็ตซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี 1960 และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา ปี 1969 ARPAnet ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปี 1969 นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบัน วิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปี 1975 จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency ในปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency)
แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้นในปี 1983
 DARPA ตัดสินใจนำTCP/IP(Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ปี 1986 เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน DARPA  ยังได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึงปี 1980 และให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงานในปี 1991 และบุคคลสำคัญคนหนึ่งคือ ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners - Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบ HTML หรือไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้นที่ใช้เป็นภาษาโปรแกรมพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ในปัจจุบัน

ทิม เบอร์เนอร์ส ลี ผู้คิดค้นภาษา HTML และ เว็บเบราว์เซอร์โมเสคที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น

เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกของโลกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บที่ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง คือเว็บบราวเซอร์ของศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้พัฒนาเว็บเบราวเซอร์ MOSAIC (หรือเรียกว่าโมเสค) ขึ้นมาโดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บบราวเซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิด บริษัทเน็ตสเคป โดยทำการพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ที่ชื่อว่า Netscape Navigator
                นอกจากนี้ยังมีเว็บเบราว์เซอร์ถือกำเนิดขึ้นอีกมากมาย เช่น

Mosaic หรือ โมเสค ในปี 1993

            IE หรือ Internet Explorer ในปี 1995

วินโดวส์ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (อังกฤษ: Windows Internet Explorer) (ก่อนนี้เรียกว่า ไมโครซอฟท์ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์) โดยมีชื่อย่อว่า ไออี (IE) เป็นเว็บเบราว์เซอร์ของไมโครซอฟท์และเป็นซอฟต์แวร์ที่มีให้พร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์
ไออีเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่มีนิยมคนนิยมใช้มากเป็นตัวหนึ่ง โดยในปี 2545 มีสัดส่วนการใช้งานในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ประมาณ 95% และมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากมีคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้นจนถึงประมาณ 46% ในปี พ.ศ. 2554 รุ่นล่าสุดคือรุ่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 11ซึ่งสามารถใช้ได้สำหรับ วินโดวส์ 7,และ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 วินโดวส์ 8 วินโดวส์เซิรฟเวอร์ 2012 วินโดวส์ 8.1 และ วินโดวส์เซิรฟเวอร์ 2012 R2

                                              Netscape Navigator ในปี 1994

เน็ตสเคป แนวิเกเตอร์ ( Netscape Navigator) เป็นเว็บเบราว์เซอร์ของค่าย AOL มีสัญลักษณ์อันโดดเด่นเป็นรูปประภาคาร สมัยหนึ่งเคยมียอดนิยมใช้เป็นคู่แข่งของ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 5รุ่นสุดท้ายที่ออกคือ เน็ตสเคปแนวิเกเตอร์ 9 ซึ่งเป็นรุ่นที่ต่อจาก เน็ตสเคปเบราว์เซอร์ 8
                                                       Opera ในปี 1996

โอเปร่า (Opera) คือชื่อซอฟต์แวร์ ที่รวมเว็บเบราว์เซอร์และโปรแกรมสำหรับใช้งานอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ พัฒนาโดยบริษัทโอเปร่า ประเทศนอร์เวย์ ในปัจจุบันโอเปร่าเป็นผู้นำในตลาดเว็บเบราว์เซอร์สำหรับโทรศัพท์มือถือ และพีดีเอ นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้ในระบบโทรทัศน์ที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ชม (interactive television, iTV) ในบางประเทศ เมื่อไม่นานนี้ บริษัทโอเปร่าได้ร่วมมือกับบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ด้านการสร้างสรรค์สื่อ เพื่อรวมโอเปร่ากับโปรแกรมในชุด อะโดบีครีเอทีฟสวีท
และเมื่อ 20 กันยายน 2548 ทาง opera (Opera Software ASA) ได้เปิดให้ opera browser (เวอร์ชันสำหรับ desktop) เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถโหลดใช้งานได้ฟรี และไม่มี Ad Banner ใด ๆ ในตัวโปรแกรม สามารถใช้งานได้เต็มรูปแบบ
                                                                                          Safari ในปี 2008

ซาฟารี (Safari) คือเว็บเบราว์เซอร์ที่พัฒนาโดยบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ สำหรับเครื่องแมคอินทอช โดยมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Mac OS X รุ่น 10.3 เป็นต้นไป และสตีฟ จอบส์ ได้ประกาศในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เปิดตัวซาฟารีสำหรับวินโดวส์
หน้าตาของซาฟารีมีลักษณะสีเงินวาว (brush metal) เหมือนกับลักษณะของ ซอฟต์แวร์เล่นเพลง ไอทูนส์ ซาฟารีรุ่นที่สองเรียกว่า Safari RSS ใช้ได้กับ Mac OS X รุ่น 10.4 ขึ้นไป
ซาฟารี ใช้ตัววาดหน้าเว็บชื่อ WebCore ซึ่งพัฒนามาจากตัววาดหน้าเว็บชื่อ เว็บคิต ที่พัฒนาต่อมาจาก KHTML ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการซอฟต์แวร์เสรี KDE
                                                       Mozilla Firefox ในปี 2005

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัท มอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากอินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์และกูเกิล โครม และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลกไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61 และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552)ไฟร์ฟอกซ์ใช้เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว
มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัท มอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากอินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์และกูเกิล โครม และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลกไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61 และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552)ไฟร์ฟอกซ์ใช้เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว
Google Chrome ในปี 2008

กูเกิล โครม (อังกฤษ: Google Chrome) เป็นซอฟต์แวร์เว็บเบราว์เซอร์แบบโอเพนซอร์ซ พัฒนาโดยกูเกิล ใช้เว็บคิตเป็นเรนเดอริงเอนจินสำหรับวาดหน้าจอ และนำบางส่วนจากเว็บเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์มาพัฒนาต่อ
โครมมีให้ดาวน์โหลดเพื่อทดสอบใช้งานสำหรับวินโดวส์ และมีภาษาที่ให้ใช้ได้มากกว่า 50 ภาษารวมถึงภาษาไทย รุ่นสำหรับ แมคโอเอส และ ลินุกซ์ นั้นกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะเปิดให้ทดสอบในอนาคต โครมเป็นตัวพัฒนาจากโค้ดของซอฟต์แวร์ โครเมียม ซึ่งใช้สัญลักษณ์เดียวกัน แต่คนละสี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น